messager
 
เทศบาลตำบลฝายกวาง call ข้อมูลการติดต่อ

เทศบาลตำบล
ฝายกวาง
อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ประวัติความเป็นมา
ตำบลฝายกวาง จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19มกราคม2539 และได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลฝายกวาง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่17กรกฎาคม 2551 มีสำนักงานตั้งอยู่ เลขที่ 129 หมู่ 10 ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
คำขวัญตำบลฝายกวาง
ถิ่นสามวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมคนเมืองเหนือ คนที่มีเชื้อสายจากประเทศลาวและคนไทลื้อ งามล้ำน้ำใจ คือ อัธยาศัยดีไมตรีที่ดี ยึดมั่นในธรรมะ คือ ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สักการะครูบาคำหล้า คือ พระเกจิอาจารย์ผู้เป็นที่เคารพ
ลักษณะภูมิประเทศ
1. ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล ตำบลฝายกวาง จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 และได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลฝายกวาง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2551 สำนักงานเทศบาลตำบลฝายกวาง ตั้งอยู่เลขที่ 129 หมู่ที่ 10 ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเชียงคำ และห่างจากอำเภอเชียงคำประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดพะเยาประมาณ 71 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทาง 806 กิโลเมตร เดินทางโดยทางรถยนต์ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดตำบลน้ำแวน ตำบลทุ่งผาสุข เทศบาลตำบลเวียง ตำบลร่มเย็น ทิศตะวันออก ติดตำบลแม่ลาว ทิศใต้ ติดตำบลงิม ตำบลออย และอำเภอปง ทิศตะวันตก ติดตำบลทุ่งรวงทอง ตำบลห้วยยางขาม ตำบลจุน อำเภอจุน มีพื้นที่ 167 ตารางกิโลเมตร หรือ 104,375.- ไร่ จำแนกเป็น * ที่อยู่อาศัย จำนวน 4,259 ไร่ * ที่เลี้ยงสัตว์ จำนวน 11,331 ไร่ * ที่ทำไร่ จำนวน 14,624 ไร่ * ที่สาธารณะ จำนวน 1,746 ไร่ * ที่ว่างเปล่า จำนวน 1,560 ไร่ * ที่นา จำนวน 9,132 ไร่ * ที่สวน จำนวน 6,131 ไร่ * ที่ทำประมง จำนวน 349 ไร่ * ที่ป่าไม้ จำนวน 55,243 ไร่ 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลฝายกวางมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบเชิงเขา โดยมีภูเขาวางตัวทาง ทิศใต้ และทิศตะวันตก โดยลาดเอียงเป็นพื้นราบทางตอนกลางถึงทิศเหนือ มีแม่น้ำแวนไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือและแม่น้ำลาวไหลจากทิศทางตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ทำให้พื้นที่ราบมีความเหมาะสมแก่การทำการเกษตร เพาะปลูก ทำไร่ และสวน 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ ตำบลฝายกวางมีลักษณะภูมิอากาศ อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมจากทะเลจีนใต้ ทำให้พื้นที่มีลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกได้ 3 ฤดู คือ - ฤดูฝน อยู่ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม - ฤดูหนาว อยู่ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ - ฤดูร้อน อยู่ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม ( ช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนสภาพภูมิประเทศทั่วไปจะแห้งแล้ง ) 1.4 ลักษณะของดิน ลักษณะของดินในตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จัดอยู่ในประเภทของดิน ส่วนใหญ่เป็นดินร่วน เหมาะสำหรับทำนา ทำไร่ ทำสวน แต่บางพื้นที่เป็นดินเหนียว ซึ่งชาวบ้านนำมาปั้นเป็นเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวตำบลฝายกวาง 2. ด้านการเมือง/การปกครอง 2.1 เขตการปกครอง เทศบาลตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีจำนวนหมู่บ้าน 17 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 ชื่อหมู่บ้าน บ้านฝายกวาง หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน บ้านปัว หมู่ที่ 3 ชื่อหมู่บ้าน บ้านศรีพรม หมู่ที่ 4 ชื่อหมู่บ้าน บ้านหนอง หมู่ที่ 5 ชื่อหมู่บ้าน บ้านปัวใหม่ หมู่ที่ 6 ชื่อหมู่บ้าน บ้านทุ่งหล่ม หมู่ที่ 7 ชื่อหมู่บ้าน บ้านสลาบ หมู่ที่ 8 ชื่อหมู่บ้าน บ้านแวนโค้ง หมู่ที่ 9 ชื่อหมู่บ้าน บ้านใหม่เจริญไพร หมู่ที่ 10 ชื่อหมู่บ้าน บ้านทุ่งหล่มใหม่ หมู่ที่ 11 ชื่อหมู่บ้าน บ้านสันติสุข หมู่ที่ 12 ชื่อหมู่บ้าน บ้านบัวนาคพัฒนา หมู่ที่ 13 ชื่อหมู่บ้าน บ้านใหม่นาสา หมู่ที่ 14 ชื่อหมู่บ้าน บ้านศิวิไล หมู่ที่ 15 ชื่อหมู่บ้าน บ้านหนองลื้อ หมู่ที่ 16 ชื่อหมู่บ้าน บ้านฐานพัฒนา หมู่ที่ 17 ชื่อหมู่บ้าน บ้านฝายกวาง 2.2 การเลือกตั้ง โครงสร้างเทศบาลตำบลฝายกวาง ประกอบด้วย 1 . ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี (มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้าง รองจากนายกเทศมนตรี และรับผิดชอบ ควบคุม ดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย และอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด หรือตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย ผู้บริหารเทศบาลตำบลฝายกวาง จำนวน 1 คน 1. นายรัตน์ คำใส นายกเทศมนตรีตำบลฝายกวาง ผู้ช่วยผู้บริหารเทศบาลตำบลฝายกวาง จำนวน 4 คน 1. นายพิเนก บุญมา รองนายกเทศมนตรีตำบลฝายกวาง 2. นางสาวศรีไพร ลาดมูล รองนายกเทศมนตรีตำบลฝายกวาง 3. นายจักรกฤษณ์ ประกาสิทธิ์ เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลฝายกวาง 4. นายสมบูรณ์ ไกลถิ่น ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลฝายกวาง 2. ฝ่ายสภาเทศบาลตำบลฝายกวาง มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 2 เขตเลือกตั้ง ตามกฎหมายที่กำหนด ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของเทศบาลตำบลฝายกวาง ประกอบด้วย ประธานสภาเทศบาล 1 คน รองประธานสภาเทศบาล 1 คน เลขานุการสภาเทศบาล 1 คน และสมาชิกสภาเทศบาล 9 คน รวมจำนวน 12 คน 1) นายถม โคลงกาพย์ ประธานสภาฯ 2) นายบุญวาด ไกลถิ่น รองประธานสภาฯ 3) นายจรัญ นาต๊ะ สมาชิกสภาฯ เขต 1 4) นายสมัย จันทร์ฟู สมาชิกสภาฯ เขต 1 5) นายเชิดพงษ์ บัญชา สมาชิกสภา เขต 1 6) นางอำพร ศรีสุทธะ สมาชิกสภา เขต 1 7) นางจันทร์ดา กรรณิกา สมาชิกสภา เขต 1 8) นายสมคิด ไกลถิ่น สมาชิกสภา เขต 2 9) นายสมจักร ไกลถิ่น สมาชิกสภา เขต 2 10) นางสมภา ไกลถิ่น สมาชิกสภา เขต 2 11) นางสร้อย ไกลถิ่น สมาชิกสภา เขต 2 12) นางอุมารินทร์ นาคาซาว่า สมาชิกสภา เขต 2
จำนวนครัวเรือนและประชากร
ปัจจุบัน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,838 คน แยกเป็นชาย 4,298 คน หญิง 4,540 คน สถานภาพการอยู่อาศัย (เฉพาะสัญชาติไทยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน) ครัวเรือน 3,763 ครัวเรือน (ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน เมษายน 2564) ความหนาแน่นของประชากร 53 คนต่อตารางกิโลเมตร ตำบลฝายกวางแบ่งออกเป็น 17 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือน ดังนี้ 1 บ้านฝายกวาง 229 2 บ้านปัว 133 3 บ้านศรีพรม 135 4 บ้านหนอง 215 5 บ้านปัวใหม่ 308 6 บ้านทุ่งหล่ม 217 7 บ้านสลาบ 218 8 บ้านแวนโค้ง 223 9 บ้านใหม่เจริญไพร 304 10 บ้านทุ่งหล่มใหม่ 423 11 บ้านสันติสุข 174 12 บ้านบัวนาคพัฒนา 241 13 บ้านใหม่นาสา 192 14 บ้านศิวิไล 229 15 บ้านหนองลื้อ 201 16 บ้านฐานพัฒนา 123 17 บ้านฝายกวาง 196 รวม 3,763 ตารางจำนวนประชากรตำบลฝายกวาง หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง รวม 1 บ้านฝายกวาง 245 278 523 2 บ้านปัว 181 186 367 3 บ้านศรีพรม 144 164 308 4 บ้านหนอง 273 295 568 5 บ้านปัวใหม่ 324 343 667 6 บ้านทุ่งหล่ม 247 278 525 7 บ้านสลาบ 293 331 624 8 บ้านแวนโค้ง 237 235 472 9 บ้านใหม่เจริญไพร 398 394 792 10 บ้านทุ่งหล่มใหม่ 304 327 631 11 บ้านสันติสุข 240 223 463 12 บ้านบัวนาคพัฒนา 283 336 619 13 บ้านใหม่นาสา 160 177 337 14 บ้านศิวิไล 316 277 593 15 บ้านหนองใหม่ 262 269 531 16 บ้านฐานพัฒนา 141 162 303 17 บ้านฝายกวาง 241 260 501 *** ทะเบียนบ้านกลาง 9 5 14 รวม 4,298 4,540 8,838
ดาวโหลดรายละเอียดข้อมูลครัวเรือนและจำนวนประชากรเทศบาลตำบลฝายกวาง

ที่ตั้งและอาณาเขตพื้นที่ตำบลฝายกวาง
ที่ทำการเทศบาลตำบลฝายกวาง เลขที่ 129 หมู่ 10 ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเชียงคำ และห่างจากอำเภอเชียงคำประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดพะเยาประมาณ 80 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 806 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดตำบลน้ำแวน ตำบลทุ่งผาสุข ตำบลเวียง ตำบลร่มเย็น ทิศตะวันออก ติดตำบลแม่ลาว ทิศใต้ ติดตำบลงิม และตำบลออย อำเภอปง ทิศตะวันตก ติดตำบลทุ่งรวงทอง ตำบลห้วยยางขาม ตำบลจุน อำเภอจุน จำนวนพื้นที่ทั้งหมด 167 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 104,375 ไร่ จำแนกเป็น ที่อยู่อาศัย จำนวน 4,259 ไร่ ที่เลี้ยงสัตว์ จำนวน 11,331 ไร่ ที่ทำไร่ จำนวน 14,624 ไร่ ที่สาธารณะ จำนวน 1,746 ไร่ ที่ว่างเปล่า จำนวน 1,560 ไร่ ที่นา จำนวน 9,132 ไร่ ที่สวน จำนวน 6,131 ไร่ ที่ทำประมง จำนวน 349 ไร่ ที่ป่าไม้ จำนวน 55,243 ไร่
เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของเทศบาลตำบลฝายกวาง
สัญลักษณ์เทศบาลตำบลฝายกวาง มีองค์ประกอบ คือ ฝาย หมายถึง การแสดงออกถึงความสามัคคีของคนรุ่นก่อนที่ร่วมมือกันสร้างฝายโดยใช้แสงไฟ จากไม้ชนิดหนึ่งติดไฟส่องสว่าง ซึ่งเรียกว่า “กวาง” สำหรับก่อสร้างฝายในตอนกลางคืน ซึ่งเป็นที่มาของตำบลฝายกวาง ต้นไม้ หมายถึง ต้นไม้เต็ง ไม้รังซึ่งมียางที่มีคุณสมบัติติดไฟง่าย มีลักษณะคล้ายกับหินย้อย ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “กวาง” ซึ่งใช้กวางมาเผา ให้แสงสว่างในการก่อสร้างฝายในเวลากลางคืนเพื่อให้แล้วเสร็จทันต่อการใช้งาน จึงมีชื่อเรียกขานฝายลูกนี้ว่า “ฝายกวาง” ภูเขาและสายน้ำ หมายถึง ตำบลฝายกวางเป็นพื้นที่ มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้และแม่น้ำมี ความเหมาะสมในการประกอบอาชีพของเกษตรกร พระธาตุขุนห้วยสวดในเงาครูบาคำหล้า หมายถึง เป็นที่สักการบูชา และเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของประชาชนตำบลฝายกวาง
ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ และพันธกิจการพัฒนา
2.1 วิสัยทัศน์ “ฝายกวางเป็นเมืองพัฒนา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 2.2 พันธกิจ “ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างยั่งยืน” ประกอบด้วย 5 ด้านดังนี้ 1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “ดิน น้ำ ป่า อุดมสมบูรณ์ ขยะ น้ำเสียลดลง” 2. ด้านเศรษฐกิจ “มีงานทำ กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้ลด” 3. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี เทคโนโลยีเพียงพอ” 4. ด้านสังคม “สร้างสังคมอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง” 5. ด้านการเมืองการบริการ “โปร่งใส คุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประสทธิผล ตรวจสอบได้” ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเทศบาลตำบลฝายกวาง ได้ใช้ข้อมูลจากสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ ที่มาจากสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชน ประกอบด้วย นำนโยบายของรัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนพัฒนาอำเภอมาบูรณาการเป็นแนวทางในการพัฒนาเทศบาล เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และสามารถปรับตัวได้ในโลกแห่งการแข่งขันยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งเทศบาลตำบลฝายกวางได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาไว้ 5 ด้านดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป้าประสงค์ - ประชาชนสามารถดูแลรักษาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียว ส่งเสริม อนุรักษ์และฟื้นฟูการจัดการ สิ่งแวดล้อมด้วยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ตัวชี้วัด - ร้อยละของจำนวนโครงการด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ค่าเป้าหมาย 2566 2567 2568 2569 2570 20 20 20 20 20 กลยุทธ์ แนวทางที่ 1 พัฒนาสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางที่ 2 ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว แนวทางที่ 3 ส่งสริมการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางที่ 4 ขุดลอกแหล่งน้ำกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรม 2. ยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เป้าประสงค์ - ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ประชาชนในตำบลเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ลดรายจ่ายในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ในตำบลสามารถทัดเทียมที่อื่น มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีอาชีพเสริม ตัวชี้วัด 1. จำนวนโครงการด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 2. ร้อยละของประชาชนที่มีทักษะในการผลิตผลทางเกษตรอินทรีย์ 3. ร้อยละครัวเรือนและกลุ่มอาชีพที่มีทักษะในการประกอบอาชีพ ค่าเป้าหมาย 2566 2567 2568 2569 2570 30 30 30 30 30 กลยุทธ์ แนวทางที่ 1 ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์ แนวทางที่ 2 พัฒนาด้านการเกษตร เพื่อการบริโภค การซื้อขายภายในประเทศและส่งออก แนวทางที่ 3 พัฒนาธุรกิจขนาดเล็ก ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัวและผู้ประกอบการ SMEs แนวทางที่ 4 ส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน แนวทางที่ 5 พัฒนาการพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุนและกิจการสหกรณ์ แนวทางที่ 6 พัฒนาสารสนเทศเพื่อการบริหาร การบริการและการแข่งขัน 3. ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป้าประสงค์ - ก่อสร้าง ปรับปรุง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในตำบล และระหว่างตำบลให้เป็นมาตรฐาน ประชาชนมีน้ำไว้อุปโภคบริโภค ปลอดภัย และทำการเกษตรอย่างทั่วถึง ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. ร้อยละของจำนวนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ค่าเป้าหมาย 2566 2567 2568 2569 2570 80 80 80 80 80 กลยุทธ์ แนวทางที่ 1 พัฒนาและปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น แนวทางที่ 2 พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนสู่ชุมชนที่น่าอยู่ แนวทางที่ 3 พัฒนาแหล่งน้ำ 4. ยุทธศาสตร์พัฒนาสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป้าประสงค์ - สตรี ผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษา เรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ประชาชนได้สืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น เด็กและเยาวชนมีสุขภาพร่างกาย แข็งแรง ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของจำนวนโครงการด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2. ร้อยละประชาชนผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดี 2. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ 3. ร้อยละประชาชนที่ได้รับการศึกษาและศึกษาเพิ่มขึ้น 4. จำนวนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น ค่าเป้าหมาย 2566 2567 2568 2569 2570 80 80 80 80 80 กลยุทธ์ แนวทางที่ 1 ส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผุ้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาส แนวทางที่ 2 ส่งเสริมด้านสาธารณสุขและอนามัย แนวทางที่ 3 ส่งเสริมการจัดระเบียบของหมู่บ้าน/ชุมชน แนวทางที่ 4 ส่งเสริมและป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แนวทางที่ 5 ส่งเสริมเพิ่มศักยภาพการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์ อปพร. แนวทางที่ 6 ส่งเสริมกีฬา และนันทนาการ ในตำบล แนวทางที่ 7 ส่งเสริมการศึกษา คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม การศาสนาจารีตประเพณี แนวทางที่ 8 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวทางที่ 9 ส่งเสริมกิจกรรมเด็กและเยาวชน 5. ยุทธศาสตร์พัฒนาการเมืองการบริหาร เป้าประสงค์ - พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ภายในองค์กรและชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริการจากหน่วยงาน ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไข 2. ร้อยละผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม 3. ร้อยละของการบริการที่สามารถลดขั้นตอนและระยะเวลาให้บริการ 4. ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาขีดสมรรถนะตามแผนพัฒนาบุคลากร ค่าเป้าหมาย 2566 2567 2568 2569 2570 60 60 60 60 60 กลยุทธ์ แนวทางที่ 1 ปรับปรุงคุณภาพให้บริการประชาชน แนวทางที่ 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวทางที่ 3 ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย แนวทางที่ 4 ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในองค์กร แนวทางที่ 5 ส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพบุคลากร